องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกุ่ม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี: www.bankum.go.th

 
 
 


ประชาสัมพันธ์ป้องกันโรคไข้เลือดออก


 โรคไข้เลือดออก : เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย 

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

  1. หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงลายกัดโดยให้เด็กนอนกางมุ้งในเวลากลางวันหรือไม่เข้าไปอยู่ในที่มืดและอับชื้น
  2. ทำลาย ยุงตัวแก่โดยการพ่นหมอกควันและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่

ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดย                                                                                                                     

- ปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด                                                                                                                           

 - ใส่ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูงหรือปลากัดในภาชนะเก็บน้ำที่ปิดฝาไม่ได้                                                         

- ทำลายภาชนะที่มีน้ำขังหรือไม่ใช้แล้ว                                                                                                               

 - ใส่ทรายอะเบท  เกลือ น้ำส้มสายชู หรือผง ซักฝอก ลงในจานรองตู้กับข้าหรือภาชนะที่มีน้ำขัง                                 

 - หมั่นตรวจดูลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขังทั้งในและนอกบ้านทุก 7 วัน ถ้าพบให้ทำลายทันที

การดูแลรักษาเมื่อเป็นไข้เลือดออก

          โดยทั่วไปจะรักษาตามอาการและความรุนแรง ถ้าอาการไม่รุนแรงจะหายได้เอง โดยไม่ต้องใช้ยารักษาในรายที่มีอาการรุนแรงให้รักษาตามอาการ ดังนี้

           - ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้และป้องกันอาการชักจากไข้สูง

           - หากจำเป็นต้องให้ยาดลดไข้ ควรใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามให้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เส้นเลือดเปราะและแตกง่าย

          - ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นม น้ำหวาน

          - ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าเกิดอาการนำช็อก คือ ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็นรอบปากเขียว พร้อมๆ กับ ไข้ลดลง ให้รีบน้ำส่งโรงพยาบาลทันที





2567-04-24
2567-04-13
2567-04-02
2567-03-29
2567-03-19
2567-02-16
2567-02-15
2567-02-09
2567-02-02
2567-01-31